วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงกระรอกตอนที่5


ก่อนที่เราจะเริ่มทำการเลี้ยงกระรอกกันนั้น เราควรมาทำความรู้จักกับเจ้ากระรอกน้อยกันก่อนดีกว่ามัย
กระรอก(Squirrel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่ายกายอันน้อยๆของมัน นัยตากลมโต มีหางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ
วงศ์กระรอกมี วงศ์ย่อย 2 วงศ์ คือ Pteromyinae ได้แก่ กระรอกบิน และวงศ์ Sciurinae ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกบิน, ชิพมั้งค์ สำหรับการเลี้ยงกระรอกทั้งสองชนิดนั้นก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันมากครับ
กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกที่มักพบเห็นได้บ่อยๆและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มีหางยาวเป็นพวงสวยงาม มีกรงเล็บแหลมคมมากๆ และมีใบหูใหญ่กว่าชนิดอื่นๆ บางชนิดมีปอยขนที่หู ส่วนกระรอกบินนั้น จะมีพังผืดข้างลำตัว สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มักเป็นการหากินในตอนกลางคืน มีตาสะท้อนแสงไฟ กระรอกดิน มักจะมีรูปร่างสั้น และล่ำสันกว่ากระรอกต้นไม้ทั่วไปเล็กน้อย มีขาหน้าแข็งแรงใช้สำหรับการขุดดิน หางของกระรอกดินนั้นจะสั้นกว่าหางของกระรอกต้นไม้ และไม่ฟูเป็นพวงนัก และเช่นเดียวกับสัตว์ฟันกัดแทะชนิดอื่น ๆ กระรอกจะมีนิ้วเท้าหลังข้างละ 5 นิ้ว และ นิ้วเท้าหน้าข้างละ 4 นิ้ว ตรงส่วนที่น่าจะเป็นนิ้วโป้งจะกลายเป็นปุ่มนูน ๆ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะสำหรับจับอาหารมาแทะ
กระรอกมีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันไปตามสายพันธุ์ และสามารถแบ่งตามขนาดได้ 3 กลุ่ม คือ ขนาดใหญ่ เช่น พญากระรอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยพบอยู่เพียง 2 ชนิด คือ พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) และพญากระรอกเหลือง (Ratufa affinis) ซึ่งได้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ขนาดกลาง เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) กระจ้อน (Menetes berdmorei) และ ขนาดเล็ก เช่น กระเล็น (กระถิก) ซึ่งเป็นกระรอกที่เล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย
เมื่อเรารู้ลักษณะของกระรอกแต่ละสายพันธ์แล้วที่นี้เราก็ลงมือทำการเลี้ยงกระรอกกันเลยครับ

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงกระรอกตอนที่4


ก่อนที่เราจะทำการเลี้ยงกระรอกตัวน้อยนั้น ถามตัวเองให้ดีก่อนว่าเราสามารถรับนิสัยของเค้าได้หรือไม่
สำหรับการเลี้ยงกระรอกของเรา
1. อันที่จริงแล้วนั้นกระรอกเป็นสัตว์ป่า นิสัยเปรียว รักอิสระมาก เชื่องยังไงก็ยังแง่มอยู่ แต่จะแง่มแบบรักแม่ หรือสาเหตุอื่น นั่นอีกเรื่องนะครับ คุณจะสามารถทนเค้าได้หรือเปล่าล่ะถ้าเจอมันกัด ว่าไหงยังอยากการเลี้ยงกระรอกอยู่อีกหรือเปล่าครับ
2. เห็นหน้ากันไปเป็นสิบๆปีเพราะเจ้ากระรอกอายุยืน จะรักและดูแลเค้าได้นานขนาดนั้นหรือเปล่าละ a life time responsibility
3. รับได้หรือเปล่าที่บางครั้งเจ้ากระรอกของคุณอยากเล่นของเค้า คุณไม่สามารถเอาเค้ามาอุ้มได้ตลอดเวลา เหมือนหมาแมว หรือสัตว์อื่น
4. มีค่าใช้จ่ายสูงในการเลี้ยงกระรอกหนึ่งตัว ไปหาหมอทีถึงไม่ป่วยแค่ตรวจประจำปี จะมีค่าแพทย์แล้วทันทีเริ่มต้นที่ 200-300 บาท ของแต่ละคลีนิค ราคายาถูกสุดเริ่มต้นที่ 80 บาท ยาทั่วไปเฉลี่ยที่ 100-200 บาท หมอเฉพาะทางที่รักษาสัตว์เล็กมีน้อย นั่นหมายความว่าคลีนิคที่พวกหมอพวกนี้ประจำอาจจะไม่ใกล้บ้านคุณ เดินทางไม่สะดวกอย่างที่คุณคิด คุณพร้อมจะเสียสละเวลาอันมีค่าของท่านพาเค้าไปหาหมอทันทีหรือยัง
5. กระรอกเป็นสัตว์ฟันแทะ และสามารถทำลายข้าวของ มันกัดทุกอย่างที่ขวางหน้า ไม่ชอบอยู่ที่แคบๆ ถ้าจะขังกรง คุณมีงบประมาณที่จะซื้อกรงขนาดเล็กที่สุดก้อต้อง 1 X 1 X 1 เมตร ให้เค้าอยู่ได้หรือเปล่า ถ้าเลี้ยงแบบปล่อย ทำใจได้แค่ไหนที่วันหนึ่ง ทีวี เครื่องเสียง เฟอร์นิเจอร์แพงๆ ของรัก ของหวงของคุณต้องเสียหายเพราะมัน
6. การเลี้ยงกระรอกฝึกการขับถ่ายไม่ได้ ถ่ายได้ทั้งวี่ทั้งวัน กลิ่นตัวก็พอมี เล็บคม โตขึ้นดื้อ จับตัดเล็บ อาบน้ำแทบไม่ได้
7. กระรอกไม่ชอบกินอาหารที่ทิ้งตากลมไว้นาน คุณมีเวลาที่จะคอยเปลี่ยนอาหารให้เค้า หรือมีคนช่วยดูแลหรือเปล่า
8. มีเวลาเล่นกับเค้าทุกวันๆละอย่างน้อยสองชั่วโมงหรือเปล่า กระรอกนอนหัวค่ำ คุณกลับบ้านเร็วหรือเปล่า ไม่เล่นบ่อยๆเค้าจะไม่ติดเรา ไม่ติดเราเค้าก็จะไม่เชื่อง และมีแง่ม กัดแล้วเราจะกลัว ไม่อยากเลี้ยง เอาไปขาย เอาไปปล่อยทิ้ง คุณใจร้ายได้ขนาดนั้นเชียวหรือ ถ้าวันนึงคุณเล่นกับเค้าไม่ได้ คุณคิดจะทำอย่างไร
9. คนในบ้านรับกระรอกคุณได้แค่ไหน เค้าสนับสนุนให้คุณเลี้ยงหรือเปล่า ถ้าวันนึงผู้ปกครองคุณ หรือแฟนบอกให้กำจัดมันคุณจะทำอย่างไร
10. ข้อสุดท้าย และสำคัญสุด คุณแน่ใจหรือเปล่าว่าคุณมีกำลังทรัพย์เพียงพอที่จะดูแลเค้าอย่างดีตลอดชีวิตของเค้า
กลับไปอ่านทบทวนใหม่ทั้งหมด แล้วค่อยถามใจตัวเองอีกครั้งว่าคุณพร้อมหรือยังกับการมีกระรอกสักตัว

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงกระรอกแสนรักของฉัน


การเลี้ยงกระรอกแสนรักของฉันและของเพื่อนๆ
กระรอกเป็นสัตว์ป่าตัวเล็ก ๆ ขนยาวปานกลางนะ หางมีลักษณะเป็นพวงมีหลากหลายรูปแบบมากๆแล้วแต่สายพันธุ์ที่เพื่อนๆเลี้ยงนะครับ
หน้าตาของกระรอกน้อยจะออกบ๊องแบ๊วหน่อย แบบน่ารักนะครับผมว่า อันนี้แล้วแต่คนชอบแล้วกันนะครับนะครับ นานาจิตตังไม่ว่ากันก็แล้วกัน การเลี้ยงกระรอกให้
เชื่องนั้นสามารถทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นนะครับ แต่คุณคงไม่คาดหวังการทำให้เขาเชื่องเหมือนสุนัข เพราะเป็นไปไม่ได้เลย
ทำไมถึงชอบเลี้ยงกระรอก
หน้าตาน่ารักดี เป็นสัตว์ขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อยมาก ราคาซื้อขายไม่แพงมากนัก ในปัจจุบันในท้องตลาด ราคาจะอยู่ที่ 400-900
บาทเท่านั้รเอง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และขนาดครับ กรงสำหรับการเลี้ยงกระรอกก็ราคาประมาณ 100 บาท เท่านั้นเองครับ อาหารสำหรับการเลี้ยกระรอกก็สามารถหาได้ง่ายทั่วไปเลยครับ เพราะเค้ากิน
เกือบทุกอย่างครับทั้งผักและผลไม้
ใครเหมาะที่จะเป็นผู้ทำการเลี้ยงกระรอกบ้าง
คนที่จะทำการเลี้ยงกระรอกต้องมีใจรักจริง ๆ ครับ เพราะมันเป็นสัตว์เลี้ยงที่ต้องประคมประหงมพอสมควรในช่วงอ่อน ๆ นะครับ ต้องมี
เวลาให้เป็นพิเศษถึงจะเชื่องได้ ต้องเป็นคนใจเย็น เป็นคนใจเย็น และยอมรับความเจ็บปวดได้ เพราะคุณต้องมีโอกาสโดนกัด โดน
ข่วนบ้าง นะครับ
ใครที่ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ประเภทนี้
เด็กเล็ก ๆ ไม่เหมาะสำหรับการเลี้ยงกระรอกนะครับ เพราะเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่บอบบางมากๆ การกระทำ การเล่นที่
รุนแรงของเด็กๆอาจจะทำให้กระรอกกัดได้ หรืออาจทำให้กระรอกตายก็ได้นะครับ โดยเฉพาะกระรอกตอนที่ยังเล็ก ๆ
และคนที่คิดจะทำการเลี้ยงกระรอกไว้กอดรัดฟัดเหวี่ยง เพราะเค้าเป็นสัตว์ที่ซุกซนปราดเปรียวยิ่งนัก ไม่เหมือนหมาแมวครับนะครับ
การเลี้ยกระรอกวัยไหนที่ควรเลี้ยง
ควรหาซื้อกระรอกในวัยไม่เกิน 1 เดือนครับ 3 สัปดาห์น่าจะดีที่สุด แต่อย่าไปซื้อที่ยังไม่ลืมตานะครับ เพราะ
โอกาสรอดมีน้อย
การเลี้ยงกระรอกแต่วัยน้อย ๆ โอกาสเชื่องมีสูงกว่าและจะไม่กัดคุณแน่นอน(อาจจะมีงับคุณบ้างเมื่อไม่สบอารมณ์เท่านั้นเองอิอิ)
กระรอกเมื่อคุณซื้อตัวโตมาก ๆ แม้จะดูเชื่อง จับเล่นได้เมื่ออยู่ที่ร้าน แต่เมื่อคุณนำมาเลี้ยงจริงโอกาสเจ็บตัวสูงมากนะครับ
ครับ ยังงัยก็ต้องโดน คุณต้องยอมรับให้ได้นะครับ และขอบอกว่าเจ็บสุด ๆ ครับ คุณลองดูฟันเค้าสิครับ หากขยับบนมือ
คุณสุดลิ่มจะเป็นอย่างไร แต่ผมชินแล้วครับ
โรคส่วนใหญ่ของเจ้าตัวน้อยนั้นส่วนมากจะเป็น
โรคหวัดเลยครับ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดเมื่่อตัวน้อย ๆ จากการโดยลม หรือ เครื่่องปรับอากาศ
โรคท้องเสีย อันนี้ส่วนใหญ่จะเกิดตอนเล็ก ๆ เช่นกัน โดยจะเกิดจากการให้นมที่เหลวเกินไป ต้องปรับวิธีการ
ชงนมใหม่ให้ข้นมากขึ้นกว่าเดิม
โรคผิวหนัง อันนี้มาตอนโตครับ โดยแยกเป็นส่วนที่เกิดจากเชื้อรา และเกิดจากอาการคัน ซึ่งผมแนะนำให้พบ
แพทย์เป็นการด่วนเลยนะครับ (สำหรับผม ๆ ว่าเกิดจากอาการคันจะน่ากลัวกว่าเพราะเค้าจะแทะหางตัวเองจนร่วงหมด
และมี เลือดด้วยครับ โอกาสหายนะมี แต่หางที่เสียเลือดไปมากจะขาดครับ......อันนี้เป็นประสบการณ์ตรงของ
ผมเองเลย กับการเลี้ยงกระรอกเจ้า "ดิงด้า" ตัวสีแดงที่เป็นเบคกราวน์ นี่ละครับ เพราะเจ้านี้แทะหางตัวเองจนถึงเลือดไหล แต่ผม
ดันอวดรู้ซื้อยาคนมาทาให้เขาซะผันแผลซะเรียบร้อย แต่เอาไม่อยู่ครับเพราะเค้ายังแทะต่อ จนต้องพาไปพบ
คุณหมดที่คลีนิคตรงแถวประชาชื่น ขอบอกว่าที่นี่คุณหมอเก่งครับสำหรับการเลี้ยกระรอกคือจากที่คุยแล้วรู้เลยว่าคุณ
หมอ รู้จริง เคยผ่านเคชของกระรอกมาพอสมควร ผมว่าดีกว่า รพ.สัตว์เกษตร อีกนะครับ เพราะที่นั่นเหมือนที่
ศึกษายังงัยไม่รู้ของผมไปตายที่นั่น 2 ตัว แต่อาจสุดวิสัยก็ได้แต่ผมว่าเหมือนหมอไม่เคยรักษากระรอกอะ เอา
ของเราเป็นกรณีศึกษา นักศึกษามาดูกันเต็มเลย สู้คลีนิคไม่ได้เลย ดูจากเทคนิคการจับกระรอกแล้วรู้เลยว่าหมอ
และผู้ช่วยเก่งจริง เอาเหอะว่ากันของเราดีกว่า กลับมาไม่กี่วันก็หายครับ แต่เสียหางไปกว่าครึ่ง เสียหายครับ
แต่ก็เป็นครู.. )
ระวัง!
เจ้าตัวเล็กมีจุดอ่อนที่บริเวณคอ หากได้รับการกระแทก กระทบกระเทือนส่งผลให้ถึงตายได้เลย การจับโดยการ
บีบช่วงต้นคอหากไม่ถูกต้องเค้าจะขาดอากาศและตายใน 2-3 นาทีแค่นั้นเอง ไม่น่าเชื่อใช่มั้ยว่าเจ้าตัวเล็กที่ตก
จากต้นไม้ระดับตึก 3-4 ชั้นได้สบาย จะตายได้ง่าย ๆ แบบนี้

อาหารสำหรับการเลี้ยงกระรอกขณะยังเป็นตัวเล็ก
เมื่อพ้นวัยทารก ประมาณเดือนครุึ่ง มีฟันพอสมควรเริ่มให้แทะกล้วยก่อนเลยครับ ควบคู่ไปกับซีรีเล็กซ์ เมื่อเค้า
ทานผลไม้ได้เยอะขึ้นค่อยให้ผลไม้เป็นการถาวร โดยควรให้ผลไม้ที่หลากหลายครับ เพราะจะทานได้เยอะและ
มีคุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วนกว่าทานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะ แต่ไม่ยุ่งยากครับเพราะเค้าทานได้
ทุกอย่างครับผักยังท่านได้เลย ถ้่ว คะน้า แตงกวา ฯลฯ
เจ้ากระรอกน้อยเล็บย้าว...ยาว
กระรอกเล็บยาว ข่วนเจ็บ ทำให้เราเกิดเป็นแผลได้ ควรตัดเล็บเป็นอย่างยิ่งครับ เราสร้างความคุ้นเคยการตัดได้
โดยตัดแต่ตอนเล็ก ๆ เลย ก็พอตอนทานผลไม้ได้ก็เริ่มตัดเล็บได้แล้วครับ ตัดส่วนปลายที่เป็นขอบขาวนะครับ
ระวังการตัดโดนเนื้อถึงเลือดครับส่งสารเค้า ผมตัดประมาณ 3 วัน ครั้ง ลืมบอกไปแรก ๆ ยากครับ ต้องใจเย็น
ค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มที่วางไว้บนหัวเขาเราและทำแบบเดิมทุกครั้งไป

การเลี้ยงกระรอกคร่าวๆก็มีเพียงเท่านี้เองครับสำหรับใครที่ยังสนใจการเลี้ยงกระรอกอยู่ก็ค้นหาต่อนเก่าๆมาอ่านได้นะครับ

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงกระรอก ตอนที่ 2

การเจริญเติบโต ..วัยเจริญเติบโตของ การเลี้ยงกระรอก จะแตกต่างกันไปออกไป แล้วแต่สายพันธุ์ที่เราต้องการเลี้ยงกระรอก จะเริ่มตั้งแต่ 4 เดือน ถึง 2 ปี ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 20-40 วัน จำนวนลูกไม่แน่นอน แต่โดยส่วนใหญ่ประมาณ 1-2 ตัว อายุขัยอาจจะสามารถยาวนานได้ถึง 10 ปี หรือ มากกว่า ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

การเลี้ยงกระรอก .. ลูกกระรอกจะเลี้ยงค่อนข้างยากเนื่องจาก ผู้ขายมักจะนำมาจากแม่ในธรรมชาติ มากกว่าที่จะมีการเลี้ยงกระรอกขึ้น มาเอง ดังนั้นจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพพอสมควร เพราะไม่ได้รับน้ำนมแม่มาอย่างเพียงพอ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้การเลี้ยงกระรอกที่เล็กเกินไป ลูกกระรอกที่ยังไม่ลืมตาต้องมีการกระตุ้นให้ตาเปิดโดยใช้สำลี ชุบน้ำหมาดเช็ดที่ตามทุกวัน นอกจากนี้ต้องเช็ดที่ก้นด้วยเพื่อกระตุ้นการขับถ่าย ของลูกกระรอก ครับ

อาหารที่ควรให้กับลูกกระรอกลูก .. ลูกกระรอกที่ยังไม่หย่านมแม่จำเป็นต้องกินน้ำนม น้ำนมส่วนใหญ่ที่ให้กินจะเป็นนมผงสำหรับเด็กแรกเกิด หรือนมผงสำหรับเลี้ยงลูกสุนัข นอกจากนี้อาจให้เป็นนมถั่วเหลืองได้บ้างถ้าหาน้ำนมที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้จริงๆ การชงนม ให้กับลูกกระรอก ต้องชงใหม่ทุกครั้งนะครับ และไม่ให้นมที่ร้อนเกินไปแก่ลูกกระรอก การชงนมไม่ควรให้เข้มข้นเกินไปเพราะจะกินยาก และทำให้เกิดการท้องอืด หรือท้องเสียได้ การป้อน นมนิยมใช้กระบอกฉีดยาขนาดเล็กค่อยๆหยอดให้กิน อย่าให้เร็วหรือมากเกินไปในแต่ละครั้ง เพราะอาจทำให้สำลักได้ซึ่งจะส่งผลให้ลูกกระรอกเป็นปอดบวมได้ ลูกกระรอกควรได้กินนมประมาณ 5 ครั้งต่อหนึ่งวัน ในแต่ละครั้งไม่ควรให้จนอิ่มเกินไปเพราะจะทำให้ท้องอืดได้

ที่อยู่ของลูกกระรอก .. ลูกกระรอกต้องการความอบอุ่นมากกว่ากระรอกโต ดังนั้นการเลี้ยงกระรอก ที่อยู่ของมันควรจะปราศจากลมพัด อากาศอบอุ่น ควรมีการตั้งหลอดไฟ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ลูกกระรอก มีผ้าเพื่อให้ลูกกระรอกซุกตัว และปลอดภัยจากสัตว์อื่นรวมทั้ง เด็กที่อาจจะเข้ามารบกวน และทำอันตรายแก่ลูกกระรอกได้

การหย่านมของการเลี้ยงกระรอก .. ควรเริ่มให้อาหารอ่อนเมื่อเมื่อลูกกระรอกอายุประมาณ 2-3 เดือน แต่คนเลี้ยงไม่นิยมหย่า นมลูกกระรอกเนื่องจากสามารถให้นม เป็นอาหารลูกกระรอก ที่โตได้เช่นกัน จริงๆแล้วควรฝึกให้ลูกกระรอกเริ่มกินผลไม้ ผัก ใบไม้เป็นหลัก และให้นมเป็นอาหารเสริม เพราะจะช่วยให้กระรอกมีร่างกายที่แข็งแรงมากกว่า

การอาบน้ำกระรอก .. ผู้เลี้ยงบางท่านชอบอาบน้ำให้กระรอก ซึ่งสามารถทำได้ แต่ควรจะเช็ดตัว และทำให้กระรอกตัวแห้งโดยเร็วเพื่อไม่ให้เป็นปอดบวม การอาบน้ำทำได้โดยใช้น้ำเปล่าอาบ หากจำเป็นต้องใช้แชมพูให้ใช้แชมพูของสุนัขที่อ่อนที่สุด โดยนำไปละลายน้ำให้เจือจางอีก 3-4 เท่า ก่อนอาบน้ำให้แก่การเลี้ยงกระรอก

โรคและการเจ็บป่วยของลูกกระรอก .. • ท้องเสีย ลูกกระรอกต้องการความอบอุ่นมากกว่ากระรอกโต ดังนั้นที่อยู่ของมันควรจะปราศจากลมพัด อากาศอบอุ่น ควรมีการตั้งหลอดไฟ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ลูกกระรอก มีผ้าเพื่อให้ลูกกระรอกซุกตัวเพื่อให้เกิดความอบอุ่น และปลอดภัยจากสัตว์อื่นรวมทั้ง เด็กที่อาจจะเข้ามารบกวน และอันตรายแก่ลูกกระรอกได้ • ปอดบวม อาการที่พบคือ หายใจลำบาก หอบ มีน้ำมูก ไอ เบื่ออาหาร เป็นต้น สาเหตุมักเกิดจาก อากาศเย็นเกินไป การอาบน้ำ ความเครียดจากการย้ายที่อยู่ หรือเปลี่ยนอาหาร โรคนี้มักจะทำให้กระรอกเสียชีวิตได้ การรักษา มักจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา รวมทั้งต้องมีการป้อนอาหารเพื่อไม่ให้กระรอกขาดอาหารมากเกินไปด้วย การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาวนานเกินไปอาจส่งผลให้กระรอกท้องเสียได้ ถ้าเกิดอาการท้องเสียหลังจากรักษาปอดบวมหายแล้ว ให้ป้อนโยเกิร์ตเป็นอาหารแก่กระรอกเพื่อเป็นการเพิ่มแบคทีเรียที่เป็น ประโยชน์ต่อร่างกาย ลดอาการท้องเสียได้ การเลี้ยงกระรอกก็มีเพียงท่านี้เองครับ ลองดูนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงกระรอกตอนที่1

การเลี้ยงลูกกระรอก .. ลูกกระรอกจะเลี้ยงค่อนข้างยากเนื่องจาก ผู้ขายมักจะนำมาจากแม่ในธรรมชาติ มากกว่าที่จะมีการเพาะเลี้ยงได้เอง ดังนั้นจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพพอสมควร เพราะไม่ได้รับน้ำนมจากแม่มาอย่างเพียงพอ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลี้ยงกระรอกที่เล็กเกินไป ลูกกระรอกที่ยังไม่ลืมตาต้องมีการกระตุ้นให้ตาเปิดโดยใช้สำลี ชุบน้ำหมาดเช็ดที่ตามทุกวัน นอกจากนี้ต้องเช็ดที่ก้นด้วยเพื่อกระตุ้นการขับถ่าย -การเลี้ยงกระรอก

อาหารลูกกระรอก .. ลูกกระรอกที่ยังไม่หย่านมจำเป็นต้องกินน้ำนม น้ำนมส่วนใหญ่ที่ให้กินจะเป็นนมผงสำหรับเด็กแรกเกิด หรือนมผงสำหรับเลี้ยงลูกสุนัข หรือกระต่าย หรือหนู นอกจากนี้อาจให้เป็นนมถั่วเหลืองได้ สำหรับนมวัวไม่แนะนำให้ใช้ เพราะมักจะเป็นสาเหตุให้กระรอกท้องเสียได้ เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลที่ลูกกระรอกไม่สามารถย่อยได้มาก การชงนม ต้องชงใหม่ทุกครั้ง และไม่ให้นมที่ร้อนเกินไปแก่ลูกกระรอก การชงนมไม่ควรให้เข้มข้นเกินไปเพราะจะกินยาก และทำให้เกิดการท้องอืด หรือท้องเสียได้ การป้อนนมนิยมใช้กระบอกฉีดยาขนาดเล็กค่อยๆหยอดให้กิน อย่าให้เร็วหรือมากเกินไปในแต่ละครั้ง เพราะอาจทำให้สำลักได้ซึ่งจะส่งผลให้ลูกกระรอกเป็นปอดบวมได้ ลูกกระรอกควรได้กินนมประมาณ 5 ครั้งต่อหนึ่งวัน ในแต่ละครั้งไม่ควรให้จนอิ่มเกินไปเพราะจะทำให้ท้องอืดได้ -การเลี้ยงกระลอก

ที่อยู่ของลูกกระรอก .. ลูกกระรอกต้องการความอบอุ่นมากกว่ากระรอกโต ดังนั้นที่อยู่ของมันควรจะปราศจากลมพัด อากาศอบอุ่น ควรมีการตั้งหลอดไฟ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ลูกกระรอก มีผ้าเพื่อให้ลูกกระรอกซุกตัว และปลอดภัยจากสัตว์อื่นรวมทั้ง เด็กที่อาจจะเข้ามารบกวน และอันตรายแก่ลูกกระรอกได้

การหย่านม .. ควรเริ่มให้อาหารอ่อนเมื่อเมื่อลูกกระรอกอายุประมาณ 2-3 เดือน แต่คนเลี้ยงไม่นิยมหย่านมลูกกระรอกเนื่องจากสามารถให้นมเป็นอาหารลูกกระรอกที่โตได้เช่นกัน จริงๆแล้วควรฝึกให้ลูกกระรอกเริ่มกินผลไม้ ผัก ใบไม้เป็นหลัก และให้นมเป็นอาหารเสริม เพราะจะช่วยให้กระรอกมีร่างกายที่แข็งแรงมากกว่า

การอาบน้ำกระรอก .. ผู้เลี้ยงบางท่านชอบอาบน้ำให้กระรอก ซึ่งสามารถทำได้ แต่ควรจะเช็ดตัว และทำให้กระรอกตัวแห้งโดยเร็วเพื่อไม่ให้เป็นปอดบวม การอาบน้ำทำได้โดยใช้น้ำเปล่าอาบ หากจำเป็นต้องใช้แชมพูให้ใช้แชมพูของสุนัขที่อ่อนที่สุด โดยนำไปละลายน้ำให้เจือจางอีก 3-4 เท่า ก่อนอาบ

โรคและการเจ็บป่วย .. • ท้องเสีย ลูกกระรอกต้องการความอบอุ่นมากกว่ากระรอกโต ดังนั้นที่อยู่ของมันควรจะปราศจากลมพัด อากาศอบอุ่น ควรมีการตั้งหลอดไฟ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ลูกกระรอก มีผ้าเพื่อให้ลูกกระรอกซุกตัว และปลอดภัยจากสัตว์อื่นรวมทั้ง เด็กที่อาจจะเข้ามารบกวน และอันตรายแก่ลูกกระรอกได้ • ปอดบวม อาการที่พบคือ หายใจลำบาก หอบ มีน้ำมูก ไอ เบื่ออาหาร เป็นต้น สาเหตุมักเกิดจาก อากาศเย็นเกินไป การอาบน้ำ ความเครียดจากการย้ายที่อยู่ หรือเปลี่ยนอาหาร โรคนี้มักจะทำให้กระรอกเสียชีวิตได้ การรักษา มักจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา รวมทั้งต้องมีการป้อนอาหารเพื่อไม่ให้กระรอกขาดอาหารมากเกินไปด้วย การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาวนานเกินไปอาจส่งผลให้กระรอกท้องเสียได้ ถ้าเกิดอาการท้องเสียหลังจากรักษาปอดบวมหายแล้ว ให้ป้อนโยเกิร์ตเป็นอาหารแก่กระรอกเพื่อเป็นการเพิ่มแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ลดอาการท้องเสียได้