วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงกระรอกตอนที่5


ก่อนที่เราจะเริ่มทำการเลี้ยงกระรอกกันนั้น เราควรมาทำความรู้จักกับเจ้ากระรอกน้อยกันก่อนดีกว่ามัย
กระรอก(Squirrel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่ายกายอันน้อยๆของมัน นัยตากลมโต มีหางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ
วงศ์กระรอกมี วงศ์ย่อย 2 วงศ์ คือ Pteromyinae ได้แก่ กระรอกบิน และวงศ์ Sciurinae ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกบิน, ชิพมั้งค์ สำหรับการเลี้ยงกระรอกทั้งสองชนิดนั้นก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันมากครับ
กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกที่มักพบเห็นได้บ่อยๆและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มีหางยาวเป็นพวงสวยงาม มีกรงเล็บแหลมคมมากๆ และมีใบหูใหญ่กว่าชนิดอื่นๆ บางชนิดมีปอยขนที่หู ส่วนกระรอกบินนั้น จะมีพังผืดข้างลำตัว สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มักเป็นการหากินในตอนกลางคืน มีตาสะท้อนแสงไฟ กระรอกดิน มักจะมีรูปร่างสั้น และล่ำสันกว่ากระรอกต้นไม้ทั่วไปเล็กน้อย มีขาหน้าแข็งแรงใช้สำหรับการขุดดิน หางของกระรอกดินนั้นจะสั้นกว่าหางของกระรอกต้นไม้ และไม่ฟูเป็นพวงนัก และเช่นเดียวกับสัตว์ฟันกัดแทะชนิดอื่น ๆ กระรอกจะมีนิ้วเท้าหลังข้างละ 5 นิ้ว และ นิ้วเท้าหน้าข้างละ 4 นิ้ว ตรงส่วนที่น่าจะเป็นนิ้วโป้งจะกลายเป็นปุ่มนูน ๆ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะสำหรับจับอาหารมาแทะ
กระรอกมีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันไปตามสายพันธุ์ และสามารถแบ่งตามขนาดได้ 3 กลุ่ม คือ ขนาดใหญ่ เช่น พญากระรอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยพบอยู่เพียง 2 ชนิด คือ พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) และพญากระรอกเหลือง (Ratufa affinis) ซึ่งได้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ขนาดกลาง เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) กระจ้อน (Menetes berdmorei) และ ขนาดเล็ก เช่น กระเล็น (กระถิก) ซึ่งเป็นกระรอกที่เล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย
เมื่อเรารู้ลักษณะของกระรอกแต่ละสายพันธ์แล้วที่นี้เราก็ลงมือทำการเลี้ยงกระรอกกันเลยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น